เกี่ยวกับอุโปะโปย
รายละเอียดบางส่วนจะมีระบุข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
เบื้องหลังและจุดประสงค์
การส่งเสริมวัฒนธรรมของไอนุและการเผยแพร่สู่สาธารณชนได้เจอกับปัญหาการลดลงของผู้สืบทอด ภาษาไอนุหรือศิลปหัตถกรรมดั้งเดิมเป็นสาขาที่ตกอยู่ในความเสี่ยงสูญหาย รวมถึงยังไม่มีความเข้าใจเพียงพอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์หรือวัฒนธรรมของไอนุ ฯลฯ พิพิธภัณฑ์และสวนไอนุแห่งชาติได้ยึดเบื้องหลังแบบนี้เป็นเกณฑ์และออกความเห็นใน “งานปราศรัยของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการมีอยู่ของนโยบายไอนุ” (ประธาน : เลขาธิการใหญ่ของคณะรัฐมนตรี) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2009 ไว้ในฐานะ “ส่วนที่สำคัญ” ของนโยบายไอนุโดยอิงตามการรับรู้ว่าชาวไอนุเป็นชนพื้นเมือง อุโปะโปย (พิพิธภัณฑ์และสวนไอนุแห่งชาติ) ไม่ใช่แค่พื้นที่หรืออาคารเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมไอนุเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่จะ ฟื้นฟูและพัฒนาวัฒนธรรมไอนุซึ่งเป็นวัฒนธรรมล้ำค่าของประเทศญี่ปุ่น และตกอยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย รวมทั้งถูกกำหนดให้เป็นสัญลักษณ์เพื่อสร้างสังคมที่เคารพนับถือชนพื้นเมือง มีความแข็งขันและมีวัฒนธรรมต่างๆ มากมายโดยไม่มีการแบ่งแยกเพื่อมุ่งสู่อนาคต
ฟังก์ชัน
เป็นศูนย์แห่งชาติที่จะสอนประวัติศาสตร์กับวัฒนธรรมของไอนุ และเป็นสัญลักษณ์ของสังคมที่ผู้คนเคารพและอยู่ร่วมกัน พร้อมทั้งสืบสานและเป็นเจ้าของวัฒนธรรมไอนุที่ปลุกปั้นขึ้นมาท่ามกลางธรรมชาติและประวัติศาสตร์ยาวนานร่วมกันจากมุมมองต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถเรียนรู้มุมมองต่อโลกและมุมมองต่อธรรมชาติของไอนุได้ทุกวัยโดยไม่เกี่ยวว่าจะเป็นคนในประเทศญี่ปุ่นหรือไม่ จึงเป็นพื้นที่ที่เราจัดเตรียมฟังก์ชันที่จำเป็นไว้เพื่อการนั้น
【 ฟังก์ชันที่ให้บริการในอุโปะโปย 】
1. ฟังก์ชันนิทรรศการและค้นคว้าวิจัย 2. ฟังก์ชันการสืบสานวัฒนธรรมและพัฒนาบุคลากร 3. ฟังก์ชันการแลกเปลี่ยนการสัมผัสประสบการณ์ 4. ฟังก์ชันเผยแพร่ข้อมูล 5. ฟังก์ชันสวนสาธารณะ 6. ฟังก์ชันให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมด้านจิตวิญญาณ
History
September 2007 | The United Nations Declaration on the Rights of Indigenous Peoples (UNDRIP) is adopted by the General Assembly, including Japan. |
June 2008 | Both houses of the National Diet of Japan unanimously adopt a resolution recognizing the Ainu as an indigenous people. |
July 2009 | The final report from the Council for Ainu Policy Promotion proposes the development of a “symbolic space for ethnic harmony”. |
June 2014 | A Basic Policy for Development, Management and Operation of a Symbolic Space for Ethnic Harmony is established by the cabinet. It is decided that this symbolic space will be created in Shiraoi Town in the Shiraoi District of Hokkaido. |
June 2017 | The Basic Policy for Development, Management and Operation of a Symbolic Space for Ethnic Harmony is partially revised by cabinet decision. The Ainu Culture Promotion / Research Foundation is nominated as the management body. |
April 2018 | The Ainu Culture Promotion / Research Foundation and Ainu Museum Foundation merge under the name Foundation for Ainu Culture. |
December 2018 | Upopoy is chosen as the name for the symbolic space for ethnic harmony following a national poll. |
แนวคิดของสัญลักษณ์โลโก้ของอุโปะโปย
- ได้ต้นแบบมาจากทิวทัศน์ธรรมชาติ (เทือกเขาเรียงรายและทะเลสาบ) รอบๆ ทะเลสาบโปโรโต นอกจากนี้ยังได้ต้นแบบมาจากลวดลายของโอบิหรือสายรัดเอวของชุดกิโมโน (เอมุชิอาสึ) เพื่อใช้ห้อยดาบยาวสำหรับพิธีการที่ผู้ชายจะพกติดตัวไว้ตอนแต่งชุดแบบทางการ
- ใช้สีแดงและสีกรมท่าที่นำมาใช้บ่อยครั้งในเสื้อผ้าของไอนุดั้งเดิมซึ่งถือว่าเป็นสีหลัก
- ส่วนจำนวนของเส้นตรงด้านล่างจะมีทั้งหมด “6” เส้นซึ่งใช้ในคำพูดที่แสดงความหมายว่า “มากมาย” ในภาษาไอนุด้วยเช่นกันและได้ต้นแบบมาจากการที่ผู้คนมากมายมารวมตัวกัน
แนวคิดของสัญลักษณ์โลโก้ของพิพิธภัณฑ์ไอนุแห่งชาติ
- ได้ต้นแบบมาจากขาตั้งสามขา (เคโตะ อุนนิ) ที่เป็นชิ้นเดียวกันของโครงสร้างที่ช่วยพยุงหลังคาซึ่งเป็นบ้านเรือนของไอนุดั้งเดิม รวมทั้งได้ต้นแบบมาจาก “สนับสนุน” การสร้างวัฒนธรรมใหม่ๆ และการฟื้นฟูวัฒนธรรมไอนุ
- ใช้สีแดงและสีกรมท่าที่นำมาใช้บ่อยครั้งในเสื้อผ้าของไอนุดั้งเดิมซึ่งถือว่าเป็นสีหลัก
- ส่วนจำนวนของเส้นตรงด้านล่างจะมีทั้งหมด “6” เส้นซึ่งใช้ในคำพูดที่แสดงความหมายว่า “มากมาย” ในภาษาไอนุด้วยเช่นกันและได้ต้นแบบมาจากการที่ผู้คนมากมายมารวมตัวกัน และยังตรงกับเลข “6” ซึ่งเป็นจำนวนนิทรรศการในหัวข้อต่างๆ ที่รวมกันเป็นนิทรรศการพื้นฐานของพิพิธภัณฑ์